ปัจจุบันสวนสัตว์เชียงใหม่มีสมาชิกสิงโตอยู่ในส่วนแสดงรวมแล้ว 7 ตัว จึงขอเชิญนักท่องเที่ยวชมความน่ารักของลูกสิงโตได้ทุกวัน ณ ส่วนจัดแสดงสิงโตตรงกันข้ามกับหมีแพนด้าและติดกับเสือขาว สวนสัตว์เชียงใหม่ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Panthera leo
ลักษณะทั่วไป : สิงโตแอฟริกา และสิงโตอินเดียไม่มีลักษณะที่แตกต่างกัน สิงโตไม่มีลายบนตัวอย่างเสือ ตัวผู้ที่โตเต็มที่จะมีขนยาวขึ้นรอบคอ ดูสง่าน่าเกรงขาม ตัวเมียไม่มีขนรอบคอ ตรงปลายหางมีขนขึ้นเป็นพู่
ถิ่นอาศัย, อาหาร : พบในทวีปแอฟริกา ในทวีปเอเชียยังคงพบได้บ้างเช่นในประเทศอินเดียทางแถบตะวันตก สิงโตกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร กินสัตว์ได้แทบทุกชนิด เช่น กระต่ายป่า ไก่ป่า ลิง จระเข้ เม่น กวางต่างๆ และม้าลาย เป็นต้น แม้แต่ซากสิงโตด้วยกันเองก็กิน
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ : ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง ขนาดของฝูงขึ้นอยู่กับปริมาณของเหยื่อ ถ้ามีเหยื่อมากและเหยื่อมีขนาดใหญ่ สิงโตก็จะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ เวลาส่วนใหญ่ของสิงโตหมดไปกับการนอนพักผ่อน จะล่าเหยื่อก็ต่อเมื่อหิว หน้าที่ล่าเหยื่อจะเป็นของตัวเมียเป็นส่วนใหญ่ ตัวผู้ล่าเหยื่อไม่เก่ง แต่จะเป็นผู้คอยกันตัวเมียออกจากซากเหยื่อ เพื่อให้ลูกสิงโตได้มีโอกาสกินด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ป้องกันฝูงและรักษาอาณาเขตของฝูงจากตัวผู้ตัวอื่น สิงโตออกหากินกลางคืน ตั้งแต่เริ่มมืดจนถึงเที่ยงคืน เมื่อกินเหยื่อเสร็จแล้วต้องกินน้ำ และนอนพัก ตอนเช้าจึงจะกลับที่อยู่ การล่าเหยื่อของสิงโตมีทั้งแบบออกล่าตัวเดียวและเป็นกลุ่ม วิธีการล่าเหยื่อของสิงโตคือจะพยายามเข้าไปใกล้เหยื่อให้ได้มากที่สุดก่อน ที่จะตะครุบเหยื่อหรือออกวิ่งไล่เหยื่อ เพื่อให้เหยื่อมีเวลาหนีน้อยที่สุดเนื่องจากว่าสิงโตสามารถวิ่งได้เร็วใน ระยะสั้นๆเท่านั้น นอกจากนี้สิงโตยังมีความอดทนอย่างมากในการรอคอยเหยื่อ สิงโตมีฤดูผสมพันธุ์ไม่แน่นอนสามารถมีได้ทุกเวลาตลอดปี ตัวเมียเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 3 ปี ส่วนตัวผู้ประมาณ 4-6 ปี ระยะของการเป็นสัดนาน 4-16 วัน ตั้งท้องนานราว 100 วัน ออกลูกครั้งละ 3-5 ตัว ลูกอดนมเมื่ออายุ 3-6 เดือน และมีอายุยืนประมาณ 30-40 ปี
สถานที่ชม : สวนสัตว์ดุสิต, สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, สวนสัตว์นครราชสีมา, สวนสัตว์เชียงใหม่, สวนสัตว์สงขลา