ที่มาที่ไป ถนนคนเดิน เชียงใหม่

ถนนคนเดินเชียงใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตทั้งไทยและเทศ มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนกันเข้ามาเที่ยวชมกันเป็นประจำทุกสัปดาห์ ที่ถนนแห่งนี้ มีการจัดกรรมเวที จะมีเด็กๆมาแสดงโชว์ศิลปวัฒนธรรม ฟ้อนรำ เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างขาติ และยังมีของขายทั้งงาน ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้าพื้นเมือง หัตถกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และของกิ๋นเมืองอีกมากมายสุดสายถนน แต่จะมีสักกี่คน ที่จะรู้ประวัติความเป็นมาว่า กว่าจะมีที่แห่งนี้ให้เราไปเดินเล่น อย่างทุกวันนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร มีที่มาที่ไปยังอย่างไร ใครรู้บ้างคะ ถ้าไม่รู้ไม่เป็นไร ตามฉันมาเลยค่ะ

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2545 สมัยยังหนุ่ม ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ได้เกิดกิจกรรมหนึ่งโดยหน่วยงาน ททท. หรือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในขณะนั้น ชื่อว่า “คืนชีวิตให้ชุมชน คืนถนนให้คนเดิน” ได้เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตงดงามของล้านนา ซึ่งได้จัดกันที่บนถนน ตั้งแต่ประตูท่าแพจนถึงแยกอุปคุต ความยาวประมาณ 950 เมตร ซึ่งกิจกรรมถูกกำหนดให้จัดทุกๆวันอาทิตย์ โดยเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 3 ก.พ. – วันอาทิตย์ที่ 7 เม.ย. 45 รวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง โดยใช้ชื่อว่า”10 มหัศจรรย์ ล้านนาที่ท่าแพ ”  ตั้งแต่เวลา 09.00 – 24.00 น. โดยเน้นการนำเสนอความงดงามในชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของล้านนา เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป ตอนนั้นคลาสสิกมากค่ะ ปิดถนนให้คนเดินเป็นเส้นถนนยาวๆ มีพ่อแม่พี่น้องมานั่งขายของต่างๆที่แปลกตาตรงข้างทาง อาหารก็ของเมืองแท้ๆ อย่างข้าวจี่ ขนมข้าวแตน ไรประมาณเนี่ย อร่อยมาก บรรยากาศล้านนาสุดๆ

เมื่อถึงวันกำหนดวันสิ้นสุดงาน ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดีเกิดคาด ทางนักท่องเที่ยวซึ่งตอนนั้นจะเป็นชาวเชียงใหม่ซะมากกว่ารู้สึกเสียดายที่จะไม่มีกิจกรรมที่ดีแบบนี้อีกต่อไปแล้ว แต่แล้วข่าวดีก็มาค่ะ ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ ตัดสินใจประกาศจะจัดถนนคนเดินต่อไป ซึ่งจะจัดทุกๆวันอาทิตย์ คราวนี้พ่อแม่พี่น้องชาวเชียงใหม่ก็เฮลั่นมาเที่ยวกันอย่างคับคั่งทุกวันอาทิตย์เลยค่า


หลังจากจัดได้ไม่นาน ก็เกิดการย้ายที่ เพราะทางเทศบาลเขาประกาศว่า เทศบาลนครเชียงใหม่จะทำการย้ายสาธารณูปโภคบนถนนท่าแพลงใต้ดินค่ะ จึงได้ทำการย้ายการจัดกิจกรรมถนนคนเดิน จากถนนท่าแพไปจัดที่ถนนราชดำเนิน ตั้งแต่วันที่ 31 ส.ค. 47 เป็นต้นไป ระยะทางประมาณ 1.50 กิโลเมตร และจัดกิจกรรมการแสดงบริเวณลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ พ่อแม่พี่น้องชาวเชียวใหม่ก็ตอบรับเป็นอย่างดี พอจัดไปได้ซักเวลาหนึ่ง ทางเทศบาลก็ได้ประกาศปรับเวลาจัดกิจกรรมเป็นตั้งแต่ 16.00 น. ถึง 22.00 น เพื่อจะได้ไม่กระทบกับการใช้เส้นทางจารจรในชั่วโมงเร่งด่วน จนใช้มาถึงในปัจจุบันนี้

เมื่อถนนสายนี้เป็นที่เที่ยวยอดฮิตมากขึ้น เรียกว่าต้องไปกันแทบทุกอาทิตย์เลยค่ะ จึงได้เกิดถนนคนเดินใหม่ๆ ในที่ใหม่ๆขึ้นมา อย่างเช่น ถนนคนเดินวัวลาย ถนนคนเดินสันกำแพง ถนนคนเดินหลังคาร์ฟู(ตอนนี้เปลี่ยนเป็นบิ๊กซีแล้ว) ถนนคนเดินตามวัด ถนนคนเดิมตามเทศกาลงานต่างๆอีกมากมาย ซึ่งจะจัดทุกสัปดาห์แล้วแต่วันที่กำหนดค่ะ


ตอนนี้ถนนคนเดินท่าแพ ก็ได้ขยับขยายและได้กลายเป็นถนนคนเดินที่ใหญ่ที่สุดในเมืองเชียงใหม่ไปแล้ว มีพ่อค้าแม่ค้า มากมายมาขายของหลากหลาย นักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามา จนแน่นเอียดเต็มถนน  กลายเป็นตลาดวันอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุด สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับถนนคนเดินท่าแพได้ที่ http://www.guidechiangmai.net/

และยังมีถนนคนเดินอีกหลายที่ ที่เจริญรอยตามถนนคนเดินท่าแพ แต่ก็ยังไม่ลืมแนวคิดที่ว่าสืบสานประเพณีวัฒนธรรมล้านนา เรายังจะได้กลิ่นอายล้านนาในถนนคนเดินในที่ต่างๆที่ยังคงรักษาไว้เป็นอย่างดีเยี่ยมเลยค่ะ

คุณรู้หรือไม่!?
1 ชื่อเดิมของถนนคนเดินคือ คืนชีวิตให้ชุมชน คืนถนนให้คนเดิน และแค่แค่ 10 ครั้ง ในอาทิตย์ละ 1 วัน
2 ถนนคนเดินดั้งเดิม ปิดถนนแค่เส้นเดียวยาวๆ และของที่ขาย ต้องสื่อออกวัฒนธรรมล้านนาเท่านั้น
3 เมื่อก่อน ถนนคนเดินมีเฉพาะตอนกลางวัน ไม่ได้มีตอนกลางคืนเหมือนปัจจุบัน

Relate Posts :