มช.และ Autodeak ร่วมจัดตั้ง ศูนย์ออกแบบเมืองอัจฉริยะ

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2560 เวลา 15.00 น ณ ห้อง Motion Capture วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ บริษัท Autodesk บริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีออกแบบ 3 มิติ และพันธมิตร ร่วมแถลงข่าวการร่วมจัดตั้ง ศูนย์ออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City Design Center ) โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิติพงษ์ ยอดมงคล คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ ฯ, อาจารย์ ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยศิลปะ สื่อฯ อาจารย์ ภูดินันท์ สิงห์คำฟู อาจารย์ผู้สอนหลักสูตร software engineer. ประจำวิทยสลัยศิลปะ สื่อฯ นางสาวอังคณา วอร์นเนต Assistant Program Manager Autodesk (Thailand)และนายพงศ์ศักดิ์ อริยะจิตไพศาล ผู้จัดการ สานกั งานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (DEPA) สาขาเชียงใหม่ ร่วมแถลงครั้งนี้


โดย ดร.ปิติพงษ์ กล่าวว่า ถือเป็นความร่วมมือที่สำคัญที่ทาง วิทยาลัยศิลปะ สื่อ ฯ ได้จับมือกับ บริษัท Autodesk บริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีออกแบบ 3 มิติ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งศูนย์ออกแบบเมืองอัจฉริยะ Smart City Design Center ด้วยการสนับสนุนซอฟต์แวร์ให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อนำเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยของ Autodesk เข้ามาสนับสนุนการเรียนการสอนและพัฒนาบุคลากรให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ คนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้ผลักดันให้เชียงใหม่ไปสู่การเป็น Smart City ได้

ด้าน ดร.ภราดร กล่าวเพิ่มเติมว่า การ MOU ครั้งนี้ เป็นการนำซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยนำเสนอเรื่องของ Smart City ในเรื่องของภาพถ่ายสามมิติจากโดรน เช่น เรื่องของผังเมือง การออกแบบผังเมือง หรือการนำไปใช่ในการต่อยอดเรื่องของการท่องเที่ยวในแบบฉบับภาพสามมิติ ในการพรีเซ็นต์ให้กับนักท่องเที่ยวได้สัมผัสและเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆได้จริง


ซึ่งการที่จะผลักดันให้เชียงใหม่สู่การเป็น Smart City นั้น อุตสาหกรรมดิจิทัล ก็ถือเป็นกลไกหลักในการพัฒนาในหลายด้าน เช่น Smart Tourism การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยว โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเช่น Virtual Guide เทคโนโลยีจำลองสถานการณ์

เสมืองจริง Smart Museum การอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุ เพื่อการศึกษาและการถ่ายทอดในรูปแบบที่น่าสนใจ Smart Handicraft การพัฒนาอุตสาหกรรมหัตถกรรมของเชียงใหม่ ด้วยเทคโนโลยีออกแบบ 3 มิติและ Training Center for Smart City
การฝึกอบรมให้ผู้ประกอบการทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่สนใจนำเทคโนโลยีไปใช้ เพื่อยกระดับสินค้าและบริการให้สามารถแข่งขันในเวทีระดับสากลได้
ถือเป็นการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับเมืองเพื่อให้สามารถบริหารจัดการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.ภราดร กล่าวทิ้งท้ายว่า ตอนนี้เราได้เริ่มดำเนินกิจกรรมไปแล้วบางส่วน หลังจากนี้จะเป็นเรื่องของการเซ็ตอัพ ซอฟต์แวร์ เทรนบุคลากรที่จะเข้ามาช่วยเหลือให้กับผู้ประกอบการ และในปี 2561 วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี จะเป็นผู้นำร่องในการสร้าง Smart Campus โดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้อาคารมีความสะดวก ทันสมัย และใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

Relate Posts :