ในหลวงในความทรงจำ : แม่ลาน้อย

ในหลวงในความทรงจำ ; แม่ลาน้อย

แม่ลาน้อย
ธนาคารข้าวแห่งแรกในประเทศไทย ทำความเป็นอยู่ของขาวบ้านดีขึ้น ผลมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พิกัด : ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย เดินทางหลวงหมายเลข 108 สายเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ผ่านแม่สะเรียง มุ่งหน้า อ.แม่ลาน้อย ถึง กม.132 ให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง 1266 ขึ้นดอยอีกประมาณ 30 กิโลเมตร

ที่พัก : นอกจากนี้ในหมู่บ้านยังมีบ้านพักแบบโฮมสเตย์ไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย กาแฟห้วยห้อม ผ้าทอขนแกะ โฮมสเตย์

ติดต่อ : 089 854 0914 (ที่พัก) /083-324-3062 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย

ครั้งหนึ่งในชีวิตที่ได้เดินตามทางที่ในหลวงเคยเดิน ใช่แล้วเรากำลังจะเดินทางตามเส้นทางที่ในหลวงเคยเดินสำรวจเมื่อ 30 ปีที่แล้ว บอกได้เลยว่าไม่ใช่เรื่องง่าย

แต่การได้เดินทางตามเส้นทางที่ในหลวงเคยเดินเท้าเหมือนยิ่งทำให้เราเข้าใกล้ท่านมากขึ้น และได้เรียนรู้วิธีคิดที่ท่านสอนจากคำบอกเล่าของคนที่เคยร่วมเดินไปกับท่าน

ซึ่งคนที่นี่เดินเท้าเข้าป่าทุกวัน เดินตามทางที่ในหลวงเคยเดิน เรารู้สึกว่าคนที่นี่ดำเนินชีวิตตามสิ่งที่ในหลวงเคยเดินสอนรุ่นพ่อแม่เขาจริง ๆ

เพื่อนร่วมเดินทางจากโครงการ “เดินทางพ่อ” นักเล่าเรื่องต่างสาขาจากผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทั่วประเทศ

วันนี้แม่ลาน้อยมีอะไร

กาแฟ


ไม่น่าเชื่อว่าการเดินทางของเราครั้งนี้จะพาเรามาพบต้นตอของกาแฟสุดหรูอย่างสตาร์บัคส์ อาราบิก้า ชั้นดีปลูกจากบ้านห้วยห้อม (สวนกาแฟที่ได้รับการรับรอง GAP จากกรมวิชาการเกษตร) พระอัจฉริยภาพของในหลวงคือ

การจะปลูกกาแฟต้องใช้ร่มไม้ ดังนั้นการปลูกกาแฟจึงจำเป็นต้องมีป่า มีป่าจึงมีน้ำชาวบ้านถึงจะอยู่ได้

แนวคิดนี้พระองค์ทรงถ่ายทอดอย่างเรียบง่ายและส่งเสริมชาวบ้านจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2523 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อยได้ก่อตั้งขึ้น โดยใช้พื้นที่บ้านดงเป็นที่ทำการ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเคยทอดพระเนตรเห็นพื้นที่แล้ว นอกจากนี้ยังมีการตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (สมเด็จย่าฯ ทรงก่อตั้งขึ้นในนามของสมาคมศิษย์เก่าสิริราชพยาบาล เมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยมุ่งให้การศึกษาแก่ชาวบ้านประกอบด้วยชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงและเผ่าลั๊วะ

เราเดินทางไปในป่าตามเส้นทางที่ในหลวงเคยเดิน
ฉากหลังเป็นทุ่งนาในหุบเขาเขียวครึ้ม ก่อนหน้านี้เป็นเขาหัวโล้น

จากภูเขาหัวโล้นกว่า 30 ปีบัดนี้กลายเป็นป่าที่สมบูรณ์และเป็นแหล่งอาชีพให้ชาวบ้านอีกด้วย

เจ้าแกะน้อย

ขนแกะ

หลังจากเราเลียบไหล่เขามาสองลูก เราพบทุ่งกว้างบนยอดเขาเป็นที่อยู่ของแกะน้อย เจ้าเกาะถูกเลี้ยงโดยการส่งเสริมของมิชชันนารี่ในอดีต และได้ถวายเสื้อขนแกะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่และพระราชินีให้ความสนพระทัยจึงเดินทางมาหาชาวบ้าน และส่งเสริมในเวลาต่อมา เราสงสัยว่าทำไมชาวบ้านไม่พัฒนาลวดลายให้สอดรับกับความนิยมของคนในปัจจุบัน พี่มะลิวัลย์ตอบว่า

เราทำได้แต่เราไม่ทำ เพราะนี่คือลายที่เราสืบทอดจากบรรพบุรุษเรา

เราได้เรียนรู้วิธีตัดขนแกะ เพื่อเอามาทอเป็นเสื้อผ้า รายได้เสริมของชาวบ้านที่นี่
ทดลองทำผ้าทอจากขนแกะ

ผัก

ผักที่นี่ก็ไม่ธรรมดาเพราะส่งไปโครงการหลวง และซิสเลอร์ เฮ้ยจริงดิ … คนที่นี่ทานผักระดับเสิร์ฟบนโต๊ะหรูเลยเหรอเนี้ย คนที่นี่ชีวิตดีชะมัด จากการปลูกฝิ่นเปลี่ยนไปเป็นปลูกผัก ปลูกพืชโครงการหลวงพอชาวบ้านมีความรู้ความเป็นอยู่ดีขึ้น การทำไร่เลื่อนลอยก็ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป นี่เป็นผลจากการที่ในหลวงทรงมอบความรู้และต้องการพัฒนาให้ชีวิตผู้คนในที่ห่างไกลดีขึ้น


ปู่บุญโสมเล่าว่าครั้งที่ในหลวงมาที่นี่ท่านเดินเท้าขึ้นมา แล้วมาถามว่า “อยู่ที่นี่กินอะไร มีห้องน้ำมั้ย อยากได้อะไร” สิ่งที่ท่านรับสั่งชาวบ้านคือเรื่องพื้นฐานสุดของการดำรงชีวิต หลังจากนั้นไม่นานท่านก็ให้เฮลิคอปเตอร์ส่งของมาให้ และให้ความรู้เรื่องการปลูกผัก และหาตลาดในการขายให้กับชาวบ้าน

ปู่บุญโสมกำลังเล่าถึงภาพความทรงจำในอดีตที่ในหลวงเดินทางมาที่นี่

พอชาวบ้านมีรายได้เขาก็เลิกปลูกฝิ่น เลิกถางป่าเพื่อรักษาต้นไม้ปลูกกาแฟ

ชีวิตชาวบ้านที่นี่เปลี่ยนไปเพราะท่านให้ความรู้และความรัก

ปู่บุญโสมพูดสั้นๆว่า “คิดถึงแกนะ” ถ้าท่านได้มาเห็นคงดีใจตอนนี้เราสบายแล้ว

ถึงแม้ว่าวันนี้ท่านจากพวกเราไปแล้ว แต่สำหรับที่แม่ลาน้อยในหลวงอยู่กับชาวบ้านทุกลมหายใจ เพราะชีวิตที่นี่คือสิ่งที่ท่านสอน และถ่ายทอดผ่านโครงการหลวงไม่ว่าจะการปลูกกาแฟ

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อยเป็นพื้นที่ห่างไกลที่เคยเป็นแหล่งปลูกฝิ่นที่ใหญ่มาก จนกระทั่งในหลวงเดินทางมาที่นี่ ในหลวงไม่ได้บอกให้ชาวบ้านเลิกปลูกฝิ่น แต่ในหลวงมาแนะแนวการใช้ชีวิตและสร้างอาชีพ ชาวบ้านค่อย ๆ ลดการปลูกฝิ่นและหันมาปลูกพืชโครงการหลวงตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

เมื่อก่อนแม่ลายน้อยไม่ใช่พื้นที่ในความทรงจำเลย แต่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อยและบ้านห้วยห้อม กลับเป็นความทรงจำที่ตรึงเราไว้ตลอดกาล

พี่มุนิน นักเขียนชื่อดังผู้ร่วมเดินทางและบันทึกเรื่องราวไปกับเรา และถ่ายทอดลงในหนังสือเล่มล่าสุดเพื่อเป็นบันทึกการเดินทาง.. ความทรงจำที่ก้าว

การเดินทางมาโครงการหลวงแม่ลาน้อย จากตัวเมืองชียงใหม่ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 108 สายเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ผ่านแม่สะเรียง มุ่งหน้าอำเภอแม่ลาน้อย ถึง กม.132 ให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง 1266 ขึ้นดอยอีก 30 กิโลเมตร

[wpgmza id=”454″]

 

Relate Posts :