Sound Muan (ซาวด์ม่วน) งานที่เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ และเปิดพื้นที่ให้คนร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดแรงแรงบัลดาลใจ ในความเป็นล้านนาที่สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาทั้งงานหัตถกรรม ศิลปะ ดนตรี
Sound Muan (ซาวด์ม่วน) งานที่เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ และเปิดพื้นที่ให้คนร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดแรงแรงบัลดาลใจ ในความเป็นล้านนาที่สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาทั้งงานหัตถกรรม ศิลปะ ดนตรี อาหาร วัฒนธรรม
โดยที่จุดประสงค์หลักของงานก็คือ การสร้างชุมชน และอัตลักษณ์ของคนรุ่นใหม่ที่สามารถนำไปต่อยอดไอเดีย และสร้าง impact ต่อสังคมได้ด้วยไอเดียจากภูมิปัญญาดั้งเดิม แต่มาในรูปแบบที่เข้าถึงง่าย ผ่านการ Talk โดย Speakers สุดเจ๋ง! จากทีม Creative Chiang Mai และทีมผู้อยู่เบื้องหลังงาน TEDx ChiangMai
วิทท์ เจนวิทย์ สุวรรณประดิษฐ์ นักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ สาขาการออกแบบ วิทท์เล่าถึงความผิดพลาดและความล้มเหลวของชีวิตในช่วงวัยแห่งความสับสน และการค้นหาตัวเองที่มักถูกจำกัดด้วยตัวเอง คือ คิดแต่ไม่ลงมือทำซักที … วิทท์เล่าว่า “ผมเชียวชาญในความล้มเหลวเลยก็ว่าได้ เพราะทำอะไรก็ไม่สำเร็จ แต่มันก็ทำให้เราได้เรียนรู้” วิทย์ศึกษาการดัดแปลงการสาน/จักรตอก โดยใช้วัสดุธรรมชาติอย่าง หวายและไม้ไผ่ พัฒนารูปแบบจากการศึกษาจากผู้รู้ในชุมชน สู่การสร้างสรรค์กระถางต้นไม้ล้มลุกจากไม้ไผ่และหวาย สิ่งที่เจนวิทย์พูดตลอดคือการเรียนรู้จากความผิดพลาด ในส่วนหนึ่งเขาเล่าว่า
“วัยรุ่นเป็นวัยที่คิดแต่ไม่ทำ แต่เขาต้องการโอกาสในการพัฒนา”
ท้ายที่สุดเจนวิทยืพูเรื่องการทำตามสัญชาติญาณที่เขาเชื่อ และทิ้งท้ายว่า “ผมอยากให้วัยรุ่นทำตามสัญชาติญาณ เพื่อจะค้นพบสิ่งที่มีค่าพอให้เราอยู่กับมันต่อได้”
กุ๊กกิ๊ก กมลชนก แสนโสภา จากความสนใจในการย้อมสีธรรมชาติที่ถูกพัฒนามาจากงานในชั้นเรียน หลังจากจบการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบพัสตราภรณ์ เอกสิ่งทอ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กุ๊กกิ๊กกลับมาให้ความสนใจเรื่องการย้อมจากธรรมชาติ (หม้อฮ่อม) โดยการไปศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และพัฒนามาสู่การออกแบบเสื้อผ้าซึ่งเป็นต้นทุนเดิมของเธอ และสร้างแบร์นของตัวเองภายใต้ชื่อ Kamon_Indigo แบรนด์หม้อห้อมแฮนด์เมดที่ใส่ใจรายละเอียดของการย้อมสีจากธรรมชาติ และได้พัฒนารูปแบบการย้อมเป็นของตัวเอง กุ๊กกิ๊กเล่าว่า “วัฒนธรรมถ้าไม่สืบทอดวันหนึ่งก็สูญหาย”
การสืบทอดภูมิปัญญาของกุ๊กกิ๊ก จึงเหมือนเป็นประตูบานใหม่ที่พาคนรุ่นใหม่ให้ค้นพบภูมิปัญญาภายใต้ความเรียบเท่ห์ของเสื้อผ้าที่เธอออกแบบ โดยที่กุ๊กกิ๊กสะท้อนผ่านการนำเสนอว่า “เราสืบสานอย่างเดียวมันไม่พอหรือเปล่า เราลืมหาความรู้ ศึกษาทดลองหาสูตรของตัวเอง” ดังนั้นด้วยความกลัวที่ภูมิปัญญาผ้าฮ่อมจะสูญสิ้น เธอจึงเลือกที่สร้างคุณค่าและพัฒนางานออกสื่อสายตาเราอย่างต่อเนื่อง ด้วยแนวทางที่เธอยึดถือจากครูประนอมคือ
“เพียรทำด้วยใจรัก ด้วยตระหนักกลัวสูญสิ้น”
ทราย ปิยะภรณ์ ธรรมปัญญา เจ้าของเพจและแบนร์ด “กิ๋นลำ กิ๋นดี (Kinlum Kindee)” ความน่าสนใจคือการนำเสนออาหารเมือง(อาหารถิ่นภาคเหนือ) ให้ก้าวออกจากบ้านมาสู่สังคมออนไลน์ ด้วยความเท่ห์ของอาหารเมือง
ทราย เห็นถึงความต้องการและตลาดของคนรุ่นใหม่ที่ใช้ social media ทรายเริ่มให้ความรู้ผู้คนและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารเหนือ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ให้มีความร่วมสมัยเละเท่ห์
กระแสการถ่ายภาพอาหารเหนือจึงค่อยๆ มาตอบโจทย์และสร้างเป็นกระแสในโลกออนไลน์ จนมีการสั่งซื้อผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยทรายกล่าวว่า “อาหารเหนือมันมีมูลค่า เราอยากให้เห็นความสำคัญมันมากกว่า” จากความตั้งใจที่เธอได้ทำไว้ตอนนี้ทรายเองกำลังพัฒนาอาหารเหนืออะไรให้เราได้ลิ้มลองกัน จึงเป็นสิ่งที่เราตั้งตารอ ก่อนที่เธอจะทิ้งท้ายว่า “ เราอยากให้อาหารเหนือมันเป็นเรื่องหนึ่งในชีวิตคุณด้วย”
แม็ก ภานุพันธ์ ประพันธ์ หนึ่งในผู้สร้างกระแสการพูดถึง “คำเมือง” (ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ) ให้ร่วมสมัยผ่านการหยอกล้อเล่นมุก ที่หยิบยกคำเมืองมาเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนา การแชร์โพสต่างๆ จึงเป็นเสมือนการแสดงตัวตนของผู้คนผ่านภาษาอีกด้วยเพจดังกล่าวจึงไม่ได้นิยมแค่ในเชียงใหม่ แต่คนเหนือทั่วประเทศต่างแชร์มุกตลก ผ่านเพจเฟสบุ๊คชื่อ “สาระล้านนา” เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความงดงาม และความขบขันทางภาษา
นอกจากนี้แม็กยังสนใจในศิลปะวัฒนธรรมทั้งฟ้อนเจิงและเครื่องดนตรีล้านนาอีกด้วย การหยิบยกเรื่องราวเฉพาะถิ่นมาขยายในวงกว้างจึงเป็นการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่คนรุ่นใหม่เช่นเขากำลังทำอีกด้วย
Klee Bho คลีโพ หรือคลี หนุ่มปกาเกอญอ ที่หยิบเครื่องดนตรี “เตหน่ากู” มาเล่าเรื่องวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ของคนกับป่า สิ่งที่เราเรียนรู้และเติบโต เตหน่ากู ของคลีค่อยๆกระจายเสียงไปยังพื้นที่ต่างๆพร้อมกับการพูดถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คนที่ล้วนยึดโยงกับธรรมชาติ
คลีได้ปรับปรุงพัฒนาเครื่องดนตรีเตหน่ากูให้มีความร่วมสมัยเล่นกับดนตรีสากล และถ่ายทอดให้เยาวชนที่สนใจได้ร่วมสืบทอดวัฒนธรรมต่อไป อีกทั้งยังได้พัฒนาไปสู่การทำโฮมสเตย์ศูนย์การเรียนรู้ Baan Phati – บ้านพาตี่ และการส่งเสริมงานฝีมือของชาวปกาเกอญอในชื่อของ Chiang Mai Karen’s Crafts และ Thong Dee Brown Rice ข้าวกล้องทองดี
บรรยากาศของงานจึงเต็มไปด้วยการแลกเปลี่ยนของคนรุ่นใหม่ ที่หยิบยกเรื่องราวของวัฒนธรรมมาเล่าใหม่ได้อย่างหน้าสนใจโดยไม่ได้ทิ้งรากเดิมของภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แต่นำเสนอใหม่ได้อย่างร่วมสมัยและใช้ช่องทางการสือสารเพื่อสร้างการรับรู้ได้อย่างน่าสนใจ เพราะในท้ายที่สุดเมื่อวัฒนธรรมไม่ถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สอดรับกับยุคสมัย วัฒนธรรมนั้นย่อมจะสูญหายไปในที่สุด การสืบทอดทางวัฒนธรรมของแต่ละคนกระทำผ่านช่องทาง และวิธีที่ต่างกัน แต่หนึ่งในนั้นคือ การทำให้วัฒนธรรมที่พวกเขารักคงอยู่ต่อไป
สถานที่ Chiang Mai House of Photography (หอภาพถ่ายล้านนา) วันเสาร์ที่ 13.30น. – 17.00น.
[wpgmza id=”411″]