วันเพ็ญเดือนเสียบ เอ้ยสิบสอง น้ำ(ตา)นองริมตลิ่ง หนุ่มสาวทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริ๊งงงง วันลอยกระทง
ไม่ได้ประชดใครหลายคนที่มีคู่แล้วไปลอยกระทงกัน แต่เกิดอารมณ์คึกครื้นไปแบบนั้น ตามประสาของคนโฉด โดดเดี่ยวแต่ไม่เดี่ยวดาย
และแล้วก็ถึงวันวาเลนไทน์ครั้งที่สองของปี?หรือวันเสียตัวแห่งชาติรองจากวันวาเลนไทน์สำหรับวัยรุ่นที่หัวนมเพิ่งแตกพ่านกันใหม่ๆ ที่ปัจจุบันส่วนใหญ่แทบจะหลงลืมกันไปแล้วว่า เอาเข้าจริงพวกเราลอยกระทงไปทำแมวน้ำอะไรเสียงส่วนใหญ่ที่ชูมือกันสลอนก็มักจะตอบกันว่า “ทดแทนบุญคุณพระแม่คงคา”ใช่แล้ว ตอบอีกก็ถูกอีก แต่ถ้าจะให้ดี วันลอยกระเทย เอ้ย ลอยกระทง ก็มีหลากหลายเรื่องที่น่ารู้เอาไว้ไปคุยโม้ให้สาวๆฟังในวงเหล้า หรือก่อนลอยกระทงก็ได้ตามสบาย
อันดับแรกเลยที่ต้องรู้ไว้เพื่อเป็นความรู้ประดับเอวเกี่ยวกับคติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงคือ
1.การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
2.การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
3.การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
4.การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
5.การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
6.การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
7.การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล ประวัติการลอยกระทงในเมืองไทย
ส่วนเหตุผลของการลอยกระทง ที่เราลอยๆกันไปทุกปี ตั้งแต่เด็กจนโตหมาเลียตูดไม่ถึงก็มีดังนี้
1.เพื่อขอขมาแม่คงคา เพราะได้อาศัยนำท่านกินและใช้ และอีกประการหนึ่งมนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในน้ำด้วย
2.เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที ซึ่งประพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทประดิาฐานไว้บนหาดทรายที่แม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
3.เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
4.เพื่อบูชาพระอุปคุต ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแกพระอุปคุตอย่างสูง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถปราบพญามารได้ การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ เช่น ใบตอง การกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษ จุดธูปเทียนปักที่กระทงแล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปที่แม่นำลำคลอง
ตบท้ายด้วยเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงในแต่ละท้องถิ่นกันนะครับ ไล่เรียงกันไปเป็นภาคๆไปเลยล่ะกันภาคเหนือ ตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า “ลอยโคม” หรือ “ว่าวฮม” หรือ “ว่าวควัน” ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)จังหวัดเชียงใหม่ มีประเพณี”ยี่เป็ง”เชียงใหม่ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า
จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า “กระทงสาย”
จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
ภาคอีสาน ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น
จังหวัดร้อยเอ็ด มีชื่องานประเพณีว่า “สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป”ตามภาษาถิ่นมีความหมายถึงการขอขมาพระแม่คงคา ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง การประกวดประทีปโคมไฟและกระทงอันสวยงาม มีการจำลองแห่หัวเมืองสาเกตุนครทั้ง11 หัวเมือง
จังหวัดสกลนคร ในอดีตจะมีการลอยกระทงจากกาบกล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกงานนี้ว่าเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสองเพ็งไทสกล
จังหวัดนครพนม จะตกแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า “ไหลเรือไฟ”โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนมเพราะมีความงดงามและอลังการที่สุดในภาคอีสาน
ภาคกลาง มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด
จังหวัดกรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตา
ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน
หวังว่าเรื่องน่ารู้ที่ไม่ได้มาจากสาวยาคูลท์เกี่ยวกับวันลอยกระทง คงจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยพอสมควร หากผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที้นี้ด้วย เอ้ย ไอ้บ้า! นั่นมันคำลงท้ายเขียนคำนำรายงานตอนมัธยม ที่จะบอกก็คือ “ลอยกระทงกันให้สนุกนะครับ ดูแลตัวเองให้ดี ทิฟฟี่แผงสีเขียว”