ขันโตก หากอยากสัมผัสกลิ่นอายความเป็นล้านนา ต้องเดินหาเข้าอะไรที่เรียกว่า “วัฒนธรรม” หรือ “ประเพณี” และยิ่งมีวิถีการใช้ชีวิตแบบดั้งเดิมอันเป็นเอกลักษณ์ ก็ยิ่งน่าสัมผัสน่าค้นหาเรื่องอาหารการกิน ใช่อยู่ว่าหลายคนมาเที่ยวที่นี้ คุณอาจจะไปตระเวนหากิน ข้าวซอย ไส้อั่ว น้ำพริกหนุ่ม ขนมจีนน้ำเงี้ยว กันอย่างเอร็ดอร่อยมาแล้ว แต่ถ้าอยากเติมเต็มให้สมกับมาเที่ยวเชียงใหม่ สัมผัสความเป็นล้านนากันจริงๆ คุณต้องไปกินข้าว “ขันโตก”
ขันโตก คืออะไร?
คนต่างถิ่นยอมโยนทิ้งคำถามข้างบนเพื่อคว้านหาคำตอบอย่างแน่นอนเพื่อคลายข้อสงสัย
ขันโตก คือ เป็นภาชนะที่มีลักษณะเป็นถาดมีขาตั้งสูง ใช้วางอาหาร ใช้กันในหมู่คนที่นิยมรับประทาน ข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ขันโตกมีสองชนิดด้วยกัน คือ ขันโตกยวนซึ่งทำด้วยไม้สัก ใช้กันแพร่หลายในแถบ ภาคเหนือของประเทศไทย อีกชนิดหนึ่งคือขันโตกลาว ทำด้วยไม้ไผ่สานประกอบด้วยหวายในบางส่วน นิยมใช้ในภาคอีสาน ลาว และแถบสิบสองปันนาในทางตอนใต้ของจีน รวมทั้งชาวเขาบางกลุ่มก็นิยมใช้ขันโตกกัน
เมื่อในสมัยโบราณขันโตกเป็นเครื่องใช้ส่วนหนึ่งของงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน งานศพ และพิธีทำบุญบ้านเป็นต้น อาหารที่ใช้เลี้ยงเป็นอาหารเหนือและจะเป็นอะไรอีกต่าง ๆ ก็ได้ส่วนการใช้งานก็ใช้เป็นภาชนะที่วางถ้วยอาหารกับข้าว เมื่อใส่กับข้าวแล้วยกมาตั้งสมาชิกในครอบครัวหรือแขกที่มาบ้านจะนั่งล้อมวงกันกินข้าว หากใส่ดอกไม้ธูปเทียนก็จะเป็นขันดอก และถ้าใส่เครื่องคำนับก็จะเป็นขันตั้ง นอกจากการจะแบ่งชนิดของขันโตกแล้ว ยังแบ่งขนาดของขันโตกกันอีกด้วย หลักๆจะมี 3ขนาด คือ ขันโตกหลวง หรือ สะโตกหลวง ที่ทำด้วยไม้ขนาดใหญ่ นิยมใช้การในราชสำนักในคุ้มในวังของเจ้านายฝ่ายเหนือทั่วไป รวมทั้งใช้ในวัดวาอารามทั่วไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับยศศักดิ์ และความยิ่งใหญ่ของชนชั้นผู้ปกครองในการที่จะใช้เลี้ยงแขกบ้านแขกเมือง
ขนาดรองลงมาก็จะเป็น ขันโตกฮาม หรือ สะโตกทะราม เป็นขันโตกขนาดกลางประมาณ 17-24นิ้ว (คำว่า ฮาม หรือ ทะรามนี้ หมายถึงขนาดกลาง)ใช้ไม้ขนาดกลางมาตัดและเคี่ยนหรือกลึงเหมือนขันโตกหลวง ผู้ที่ใช้ขันโตกขนาดนี้ มักได้แก่ครอบครัวขนาดใหญ่ เช่น คหบดี เศรษฐีผู้มีอันจะกิน หรือถ้าเป็นวัด ผู้ที่ใช้ขันโตกขนาดนี้คือ พระภิกษุ ในระดับรองสมภารและสุดท้ายขันโตกหน้อย เป็นขันโตกขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 10 – 15 นิ้ว วิธีทำมีลักษณะเช่นเดียวกับขันโตกหลวงและขันโตกฮาม ใช้ในครอบครัวเล็ก เช่น หญิงชายพึ่งแต่งงานใหม่ หรือ ผู้ที่รับประทานคนเดียว อาหารที่ใส่ก็มีจำนวนน้อย
การกินข้าวขันโตก
เป็นประเพณีของชาวเหนือที่นิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ ใช้ในการรับรองแขกบ้านที่มาเยือน ให้หรูหรา สมเกียรติ และเพื่อให้เกิดความอบอุ่นประทับใจใน การต้อนรับ ซึ่งในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนการกินข้าวขันโตกเป็นการจัดงานเลี้ยง ตกแต่งด้วยการประดับประดาบรรยากาศในสไตล์เมืองเหนือ มีการนำเอาศิลปะ วัฒนธรรมการแสดงมาผนวกเข้า ทั้งนี้เพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แขกผู้มาเยือนให้เกิดความประทับใจในขันโตกส่วนใหญ่ก็จะประกอบไปด้วยอาหาร 5อย่าง ตัวอย่างเช่น แกงอ่อม แคบหมู แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง ชิ้นปิ้ง(หมูย่าง) ผักสด ก็ว่ากันไป และสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ ข้าวเหนียว หรือ ข้าวนึ่งในเวอร์ชั่นของคนเหนือ
ขันโตก ใช่ว่าจะมีแต่ของคาว
ของหวานก็มีให้ทานกันครบรส ที่นิยมเลี้ยงกันในงานขันโตกก็มี ขนมปาด ข้าวแตน ข้าวควบ มีน้ำต้นคนโท ขันน้ำสำหรับล้างมือก่อนหยิบข้าวนึ่ง มีกระโถนใส่เศษอาหารและเมี่ยง สำหรับสิงห์อมควัน ก็มี บุหรี่ขี้โย เป็นบุหรี่ยาเส้น นำมาม้วนใบตอง ให้ได้ลองสูบกันการนั่งรับประทานอาหารในงานขันโตก จะนั่งกับพื้นบนสาดเติ้ม (เสื่อไผ่สาน) หรือจะนั่งรับประทานขันโตกบนพื้นไม้ที่ยกพื้นขึ้นมาในระดับเวทีก็ได้ ซึ่งจะสะดวกแบบไหนก็ไม่ว่ากันด้วยปัจจุบันการจะไปหากินข้าวขันโตกในตัวเมืองเชียงใหม่แบบดั้งเดิมตามหมู่บ้านคนท้องถิ่นนั้น นับว่าหาได้ยาก แต่ด้วยประเพณีอันดีงามแบบนี้ เชียงใหม่ก็ยังมีที่ที่จัดเลี้ยงขันโตกไว้ให้ผู้มาเยือนได้ไปสัมผัสความเป็นล้านนากันอยู่สะดวกสุดได้บรรยากาศที่สุดก็ต้อง ร้านอาหารคุ้มขันโตก แถวหนองป่าครั่ง ใกล้ๆ ขนส่งอาเขต ตรงถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ หรือ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ก่อนออกไปสี่แยกเซ็นทรัลแอร์พอร์ต หรืออีกที่คือ
ไปลองดู ไปสัมผัสความเป็นล้านนา ไปให้รู้ว่า “ขันโตก” เป็นยังไงกันครับ
จองไปกินขันโตก หรือ สั่งซื้อบัตรกินขันโตกให้นักท่องเที่ยว สนใจติดต่อสอบถามได้ที่
ติดต่อจองกันเลยที่ : โทร. 098-121-4210 แอดไลน์ @majoytrip