ลัดเลาะเส้นทางเดินป่า เมาคลี – ลูกแม่กำปอง

ถ้าพูดถึงชื่อ หมู่บ้านแม่กำปอง ที่แอบซ่อนอยู่กลางดอยแม่ออน

ภาพแรกที่ผุดขึ้นมาในหัวของใครหลายๆ คน คงจะเป็นร้านกาแฟริมน้ำ บ้านพักโฮมสเตย์และวิถีชีวิตเรียบง่ายแบบบ้านๆ ของคนที่นี่  ด้วยความที่หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านตัวอย่างที่ส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเป็นแหล่งเพาะปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้าชั้นดี  ไม่แปลกเลยที่ตอนนี้จะเดินไปทางไหนของหมู่บ้านเราก็จะเจอร้านกาแฟเต็มไปหมด ซึ่งผมคิดว่ามันดีต่อนักท่องท่องเที่ยวเพราะเราสามารถเลือกร้านได้ตามใจชอบ ด้วยแต่ละร้านก็จะมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะรสชาติหรือกลิ่นของกาแฟ รวมไปถึงสไตล์การตกแต่งร้าน แต่เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยสงสัยว่าแล้วเจ้าเมล็ดกาแฟที่เค้าเอามาคั่วๆ กันเนี่ย มันปลูกกันอยู่ที่ไหน วันนี้เราจะสวมวิญญาณเมาคลีพาไปลัดเลาะเส้นทางเดินป่า มาดูกันว่าชาวบ้านที่นี่เค้าปลูกต้นกาแฟกันที่ไหนและทำไมที่นี่อากาศถึงได้เย็นสบายน่าเที่ยวตลอดทั้งปี มาหาคำตอบกันครับ แต่ก่อนที่จะพาทุกคนไปโหนเถาวัลย์กลางดอย…จะบอกว่าวันนี้เราคงมาถึงที่นี่ไม่ได้ถ้าไม่มีผู้สนับสนุนใจดีอย่าง AA รถเช่า ที่ให้รถเจ๋งขับมากินลม ชมดอย จะกี่โค้งก็สบายใจเพราะของเค้าดีจริงๆ

mae-kum-pong-1

และก่อนที่จะเข้าหมู่บ้าน ผมก็ไปสะดุดตากับเจ้าหินก้อนนี้ เขาบอกว่ามันเป็นหินมหัศจรรย์ อฐิษฐาน โยก แล้ว คลอน มีโชค บร๊ะ! เรื่องแบบนี้ผมไม่เคยพลาด ผ่านไปครึ่งชั่วโมง ลิ้นห้อย เหงื่อย้อยถึงกีบ มันไม่ขยับสักนิดเลยครับผม เอาเป็นว่าใครที่ทำให้เจ้าหินหน้าหมู่บ้านมันคลอนได้ หลังไมค์บอกผมด้วยละกันนะ

mae-kum-pong-2

และด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่ ที่จะไปดูต้นน้ำของแม่กำปอง ผมจึงได้โทรศัพท์สายตรงหา ลุงพรมมินทร์  ผู้ใหญ่บ้านคนเก่าแก่ของแม่กำปอง และท่านก็ส่งมือขวาของท่านมานั่นก็คือ พี่นิคม หนุ่มหน้ามน คนแม่กำปองโดยกำเนิด ทุกซอกทุกหลืบของที่นี่ พี่เค้าบอกว่าวิ่งมาตั้งแต่เด็กหลับตาเดินยังได้ แหม่…มาเจอเจ้าถิ่นเก๋าๆ แบบนี้ ผมก็สบายใจละครับ  แนะนำครับว่าอยากนอนโฮมสเตย์หรือไปเดินเท่ห์ๆ ในป่า โทรติดต่อได้ที่เบอร์นี้เลยครับผ๊ม 085-6754598 ป้อหลวงพรมมินทร์

mae-kum-pong-3

ตอนแรกก็คิดว่าไปกันแค่ 2 คน ไปๆมาๆ มีเจ้านี่วิ่งตามมาครับ โผล่มาจากไหนไม่สามารถทราบพิกัดได้ นี่พาลคิดว่าตัวเองเป็นเมาคลีจริงๆ เลยนะเนี่ย แต่เปลี่ยนคู่หูจากเสือดำเป็นหมาดำ เอานะ! ไม่ใช่ก็ใกล้เคียงแหละครับ มันชื่อว่าเจ้าหลง พี่คมบอกว่า ทุกครั้งที่พานักท่องเที่ยวไปเดินป่ามันก็จะวิ่งตามไปทุกครั้งแหละ เอ้า! ดีครับ ไปกันเยอะๆ จะได้ไม่เหงา

mae-kum-pong-5

และเส้นทางเดินป่าของเรา เริ่มจาก เฮือนกาแฟร้านของป้อหลวง เดินตามถนนลาดยางขึ้นไปนิดหน่อย ก็จะเจอป้ายเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เลี้ยวซ้ายเข้าไปยาวๆเลยครับ

mae-kum-pong-4

พอเดินเข้าไปได้สัก 100 เมตร ผมก็เจอต้นกาแฟเต็มไปหมดเลยครับ แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่ามันปลูกกันตามไหล่ทางแบบนี้เลยเหรอ นึกว่าจะเป็นสวนๆ กั้นแบ่งเป็นอาณาเขต พี่คมก็บอกว่า ชาวบ้านเค้าปลูกกันแบบนี้แหละ ใช้จำเอาว่า ของใครอยู่โซนไหน โอ้โห…อยู่กันแบบวีถีบ้านๆ นี่มันสบายใจจริงๆ ครับ แต่สำหรับช่วงนี้เป็นช่วงที่เมล็ดกาแฟกำลังแตกหน่อออกมาใหม่ครับ ผมเลยอดเห็นเมล็ดแดงๆ ที่พร้อมนำไปคั่วเลย พี่คมเล่าว่าชาวหมู่บ้านแม่กำปองเริ่มต้นปลูกกาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการปลูกต้นชาเมี่ยงมานานกว่า 20 กว่าปีแล้ว โดยความช่วยเหลือจากโครงการหลวงฯศูนย์ตีนตกที่ได้เข้ามาริเริ่มแนะนำพันธุ์พืชต่างๆ อันเหมาะสมกับพื้นที่ให้ชาวบ้านได้ทดลองปลูกกันเป็นการส่งเสริมอาชีพ และด้วยสภาพแวดล้อมของหมู่บ้านแม่กำปองที่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,300 เมตร มีอากาศเย็นฉ่ำตลอดทั้งปี จึงเหมาะมากกับการเป็นแหล่งเพาะปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้าชั้นดี

mae-kum-pong-6


mae-kum-pong-7

mae-kum-pong-8

นอกจากสวนกาแฟกลางดอยแล้ว บนดอยของแม่กำปองยังมีพันธุ์ต้นไม้ที่น่าสนใจอีกหลายๆชนิด เดินมาเรื่อยๆ จนพี่คมชี้ให้ดูว่านี่คือไม้ป่อแตที่ชาวบ้านเรียกหรือชื่อจริงๆ คือ ต้นกฤษณา คนโบราณจะเอาเปลือกของมันมาทำเชือกมัดควาย ว่ากันว่ามัดได้ทั้งควายเผือกยันควายธนูนู้นแหละครับ

mae-kum-pong-9

เหนื่อยนักก็พักหน่อย นี่คือที่พักกลางทาง พี่คมบอกว่านี่เรายังไม่ถึงครึ่งทางเลยนะวัยรุ่น oh my god! ผมนี่เริ่มขาหรอยแล้ว แต่พี่คมกับไอ้หลงโคตรจะฟิต ลืมไปบอกไปเลยครับว่า เส้นทางเดินป่ามีอยู่ 3 Level ครับ ของผมวันนี้เป็นแค่ระดับ 1 เดินชิลๆ ประมาณครึ่งชั่วโมงจบ รวมระยะทางทั้งสิ้น 1 กิโลเมตรโดยประมาณ ไว้มีเวลามีแรงจะมาเก็บรอบให้ครบเลยครับ

mae-kum-pong-10

mae-kum-pong-11
ไผ่เหี๊ย เมื่อก่อนชาวบ้านใช้จักสานทำฝาผนังบ้าน สานหมวก เดี๋ยวนี้ทำเป็นตะกร้าลวกไข่น้ำพุร้อน  เจ้านี่ไม่ได้ขึ้นเอง ชาวบ้านมาปลูกไว้ครับผม

mae-kum-pong-12

และพระเอกของดอยแม่กำปองก็ปรากฏตัวออกมาเสียที ชื่อของมันคือ ไม้ตุ้ม เป็นพันธุ์ไม้ที่เก็บน้ำได้มากที่สุดบนดอยแม่กำปอง สมัยก่อนชาวบ้านมักจะโค่นเอามาทำเป็นไหนึ่งเมี่ยง  แต่ปัจจุบันเลิกโค่นแล้วแล้วครับ เพราะชาวบ้านต่างช่วยกันดูแลเจ้าต้นนี้ เพราะมันคือต้นน้ำของที่นี่นั่นเอง

mae-kum-pong-13

และใต้ต้นของไม้ตุ้ม ผมก็เจอสิ่งที่ผมมาตามหา นั่นก็คือตาน้ำนั่นเองครับ มันไหลออกมาจากรากไม้ของต้นไม้ในป่าใหญ่นี่เอง พาลให้คิดไปถึงภูเขาและดอยหัวโล้นในบ้านเราหลายๆ ที่ ว่าไม่แปลกเลยที่ตอนนี้ภาคเหนือจะร้อนและแล้งได้ขนาดนี้ เพราะน้ำมือของมนุษย์เรานั่นเอง ที่มีแต่ความโลภคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง ลักลอบตัดไม้ไปขาย บุกรุกพื้นที่ป่าเอาไปทำพื้นที่การเกษตร อยากให้ทุกคนคิดได้สักทีครับว่า ธรรมชาติได้ให้อะไรเรามามากมายแค่ไหนแล้ว เราควรตระหนักและให้ความสำคัญกับแหล่งต้นน้ำเสียที ก่อนที่มันจะสายเกินแก้

mae-kum-pong-14

mae-kum-pong-15


ตอนนี้เราเดินมาถึงครึ่งทางแล้ว พี่คมก็ทักให้ผมดูว่าทุกปีฝายเก็บน้ำตรงนี้ จะล้นตลอด แต่ปีนี้มันแล้งกว่าครั้งไหนๆ ธรรมชาติได้ส่งสัญญาณเตือนเรามาโดยตลอด อยู่ที่เราเองจะใส่ใจมันบ้างรึเปล่า

mae-kum-pong-16

mae-kum-pong-17
นี่ไม่ใช่ซากฟอสซิลหรือร่องรอยอารยธรรมของผีตองเหลืองหรอกครับ มันคือร่องรอยที่ชาวบ้านมาขุดแมงนุนนี่แหละครับ
mae-kum-pong-18
การพาตัวเราเข้าไปใกล้ชิดกับธรรมชาติอยู่เสมอ ช่วยฝึกให้ตัวตนของเราเล็กลง และพัฒนาจิตสำนึกให้ใหญ่ขึ้นได้ สุดเส้นทางการเดินป่า เราได้พบเจอแหล่งต้นน้ำของแม่กำปองแล้ว จากกลางป่าเราจะไปลุยต่อกันที่น้ำตกแม่กำปอง
mae-kum-pong-19
หลุดออกจากป่ามา เราเดินเลาะขึ้นดอยมาอีกนิดนึง แวะชมวิวของหมู่บ้านที่ร้านกาแฟชมนก ชมไม้ แม่เจ้า เพลง i believe i can fly ลอยมาในหัวเลยทันที 5555

mae-kum-pong-20

mae-kum-pong-21
ไม่ต้องกลัวหลง ไม่ต้องพึ่ง GPS เดิน เดิน และ เดิน มาตามถนนเรื่อยๆ ถ้าเจอแอ่งน้ำไหลผ่านถนน นั่นหมายความว่าเราถึงจุดหมายแล้วแน่นอน เชื่อหัวไอ้เจ๋งได้เลย
mae-kum-pong-22
ช่วงนี้เป็นหน้าร้อน (มาก) น้ำจึงค่อนข้างแห้ง แต่ก็ยังพอมีน้ำเย็นๆ ไหลลงมาเรื่อยๆ ให้ได้ เอาเท้าจุ่มน้ำคลายร้อนกันบ้าง

mae-kum-pong-23

mae-kum-pong-24
น้ำตกแม่กำปองมี 7 ชั้นครับ แต่ว่าเราสามารถขึ้นไปสำรวจได้แค่ 3 ชั้น เพราะบันไดมันพัง รู้ว่าเสี่ยง แต่ไม่ต้องลองนะ เชื่อเจ้าถิ่นเค้าเถอะ!

mae-kum-pong-25

mae-kum-pong-26

ครึ่งวันนี้ที่ผมได้อยู่กับพี่คม ผมแทบไม่ต้องถามความรู้สึกแกเลยว่ารักที่นี่รึเปล่า แววตา และคำพูดของแกมันบ่งบอกถึงความใส่ใจและเอาใจใส่ธรรมชาติที่นี่  ป่าเหมือนบ้านหลังใหญ่ของพี่คม คงไม่มีใครไม่รักบ้านตัวเอง

mae-kum-pong-27

กลิ่นของดินจางๆ ลมอ่อนๆ ที่พัดยอดไม้ อากาศที่เย็นตลอดปี เสน่ห์ของที่นี่คือธรรมชาติที่บริสุทธิ์และความเรียบง่าย หมู่บ้านเล็กกลางป่าใหญ่ ชาวบ้านใช้ชีวิตร่วมกับผืนป่า พวกเค้าจึงรักและดูแลมันเหมือนพี่น้อง อยากให้คนที่ไม่เคยลองเดินป่ามาลองดูครับ แล้วคุณจะหลงรักธรรมชาติของที่นี่

mae-kum-pong-28

Relate Posts :