“สังเกต” นั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

“สังเกต” นั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

“สังเกต” นั้นเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์

ว่าแต่ สังเกต สังกานั้น สำคัญไฉน

พฤติกรรมที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด การเรียนรู้ต่างๆไม่เคยหลีกหนีพ้นจากจุดเริ่มต้นด้วยการสังเกต 

พอเริ่มรู้ประสีประสา บุพการีที่มักปากเปียกปากแฉะกับความเฉยชาของผม “หัดเป็นคนสังเกตสังกาเสียบ้าง”

หรือแม้แต่สมัยที่อยู่ในคาบวิชาวิทยาศาสตร์ตอนประถม ผมมักจะได้ยินประโยคที่ผู้สอนบอกว่า “นักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดังมักเริ่มมาจากการสังเกตกันทั้งนั้น”

 ซึ่งผมก็จำมันอย่างขึ้นใจกับที่มาที่ไปของนักวิทย์และนักคิดคนสำคัญ ล้วนแล้วแต่เป็นคนช่างสังเกต โดยไม่คิดแม้แต่จะตั้งข้อสังเกตเลยด้วยซ้ำ

เวลาก็ผ่านไป ผมเองก็ได้ออกไปเจอกับโลกภายนอกมากยิ่งขึ้น ได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง ทั้งศาสตร์และศิลป์ 

——————————————————————————————————

แต่ประโยคเด็ดนั้น ยังคงวนเวียนในหัวอยู่เสมอ นั่นเลยทำให้ผมเองก็เริ่มตั้งคำถามในประโยคที่เหมือนจะเป็นแค่เกร็ดความรู้จากคาบเรียนวิทย์  กับประโยคว่ากล่าวสั่งสอนของบุพการี นั่นเริ่มที่จะต้องนำมันมาเชื่อมโยงกันเพราะพ่อผมนั้นก็ไม่ได้พูดในฐานะของนักวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด เพียงแค่อยากจะให้ลูกชายคนเล็กของเขานั้นหัดสังเกตสิ่งรอบข้างเสียบ้าง

นั่นเลยทำให้ผมครุ่นคิดและพิจารณา ว่าแท้ที่จริงแล้ว “การสังเกต” จำเป็นต้องอยู่ในคุณสมบัติของนักวิทยาศาสตร์อย่างเดียวหรือไม่ ซึ่งเวลาก็ผ่านมาเนิ่นนานเหลือเกิน ร่วมหลายปี ที่คนธรรมดาคนนึงได้ออกไปท่องโลกกว้างและพบเจอผู้คนมากมาย

ผมนั้นก็เลยกล้าพูดได้เต็มปากเลยว่า “ไม่” เพราะการสังเกต คือทักษะที่ทุกคนพึงมี ไม่ต่างอะไรกับสิทธิขั้นพื้นฐาน เพราะแม้สัตว์ป่าในสารคดี ก็จำเป็นต้องมี การสังเกตเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์พวกมัน 

 “มนุษย์ก็เช่นกัน”


ว่าแต่แล้วทำไม “สังเกต” นั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

เพราะถ้าเรากลับมาพูดถึง เรื่องของคนล่ะ การสังเกตนั้นวนเวียนอยู่ในชีวิตเสมอ ซึ่งนั่นหมายความว่ามันก็เป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ในเวลาเดียวกันอยู่ตนนั้นจะเลือกใช้มัน ในมุมมองไหนตามแต่สถานการณ์จะพาไป

——————————————————————————————————

ชีวิตคนเรานั้นยังคงมีเรื่องราวที่จะต้องใช้

    ศาสตร์เพื่อการ.                                                              และศิลป์เพื่อการ.

       – อธิบาย.                                                                      – วิภาควิจารณ์

– ทำนาย.                                                                      -ให้คุณค่า

 – ควบคุม.                                                                     -วิเคราะห์

 – บรรยาย\พรรณา.                                                     -สร้างสรรค์

——————————————————————————————————

เพราะ “ศาสตร์” ที่เรานั้นใช้มาอธิบาย เหตุและผลต่างๆ การทำนายหรือการคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้น  การควบคุมดูแลภายใต้กรอบของเหตุผลต่างๆ เพื่อที่จะนำมาบรรยายและพรรณาต่อผู้อื่น ไม่ต่างจากบทความเชิงวิชาการ หรืองานวิจัยไม่ว่าจะเชิงคุณภาพ หรือปริมาณ มันก็เริ่มมาจากการสงสัย ตั้งสมมติฐาน และข้าสังเกตกันทั้งนั้น

ศิลป์” เองก็ไม่ได้ต่างกัน เพราะศิลป์เองก็มาจากความสร้างสรรค์ โดยการวิเคราะห์มัน เพื่อที่จะให้คุณค่า พร้อมกับวิภาควิจารณ์ ในตัวงานศิลป์แต่ละแขนง ไม่ว่าจะคุณจะสร้างสรรค์มันเองหรือว่าเสพมัน แต่สุดท้ายนั้นมันก็เริ่มต้นมาจากการสังเกตกันทั้งนั้น 


เพราะถ้าคุณไม่สังเกต คุณก็จะไม่มีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน แล้วถ้าคุณไม่สังเกต คุณก็จะไม่มีโอกาสได้ วิเคราะห์วิจารณ์และให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆที่เพื่อนร่วมโลกนั้นได้สร้างสรรค์มันขึ้นมา

    ในระเบียบและวิธีการที่อาจแตกต่างกัน แต่มันก็อาจใช้งานร่วมกันได้ ด้วยพฤติกรรม การใช้ชีวิต

  ความงามและความพึงพอใจ มักมีพื้นฐานมาจากสิ่ง ที่เรียกว่า “รสนิยม” 

ความสนใจในมุมมองโดยผ่านการ สังเกตการณ์ อย่างมีวิจารณญาณมักสร้างเสริมให้โลกใบนี้นั้นสดใส

ก็มันเพราะแบบนี้ใช่ไหม? “สังเกต” นั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ และสร้างสรรค์ชีวิตพวกเราได้

——————————————————————————————————

ผมเป็นคนช่างสงสัย คุณเองก็เป็นคนช่างสงสัย เราต่างมีเรื่องราวที่น่าสนใจ ที่พร้อมสร้างสรรค์ให้โลกใบใหม่ นั้นหมุนไปอย่างสวยงาม

เพราะสังเกตจึงจดจำ พอจดจำจึงเข้าใจ พอเข้าใจจึงนำมาประยุกต์ใช้ แล้วผลที่ได้ เลยเป็นสิ่งใหม่ ที่บังเกิดแก่ตนเอง และผู้เพื่อนร่วมโลก

มาร่วมกันส่งต่อสิ่งดีๆ

จาก เพื่อนมนุษย์ท่านหนึ่ง

ถึง เพื่อนร่วมโลกท่านอื่น

from
MidnightMessageBox

ยังมีเรื่องราวในมุมมองอีกมากมายจาก “กล่องข้อความเที่ยงคืน” ใน https://reviewchiangmai.com/author/teerapat/

Relate Posts :