การสัก(Tattoo color)ในอดีตเป็นเสมือนเครื่องหมายบ่งบอกถึงอัตลักษณ์เฉพาะคน และบ่งบอกว่าเราเป็นใครในชุมชนและสังคมนั้น ๆ การสักจึงไม่ใช่เครื่องหมายวัดค่าตรีตราของความดี ดังที่เข้าใจกันในปัจจุบัน ซึ่งการสักตรีตรานั้นเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่ความเชื่อดังกล่าวยังคงฝังรากลึกถึงปัจจุบันว่าคนสักคือคนไม่ดี
ความนิยมการสักล้านนาเกิดขึ้นในยุคสมัยใหม่ที่เกิดการแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารและรูปแบบการสักที่ถูกพัฒนามาให้มีความงามเชิงศิลปะมากขึ้น ซึ่งการสักล้านนานั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ อักขระธรรมล้านนาที่มีความอ่อนช้อย เป็นภาษาเฉพาะของล้านนาที่พัฒนาต่อๆกันมา ซึ่งต่างกับการสักในภาคกลางหรือภาคอื่นๆคือใช้อักขระของขอม และอักขระเทวนาคลี นอกจากนั้นยังมีความอ่อนช้อยของลวดลายที่ทะท้อนถึงค่านิยมของคนเหนือและลวดลายที่สะท้อนวิธีชีวิตของคนเหนือได้อย่างดีเช่น การสักขาลาย
เชียงใหม่ดินแดนแห่งเรื่องเล่าและการสืบทอดทางวัฒนธรรมได้ส่งต่อคติความเชื่องเรื่องการสักลายล้านนามาจนถึงปัจจุบัน และยังคงดำรงอยู่ซึ่งแก่นของการสักลายล้านนา มาร่วมกันหาคำตอยว่าการสักลายล้านนาคืออะไร และอะไรคือเงื่อนไขของการสักลายล้านนา วันนี้เราจะพามารู้จักการสักในรูปแบบของล้านนาในอีกมิติที่คุณไม่เคยรู้ และมาร่วมเดินทางไปกับเพื่อนชาวต่างชาติของเรากันเลย ลายสักในปัจจุบันยังมีความหมายถึงเครื่องหนือสัญญะลักษณ์ในการยึดเหนี่ยว และเป็นที่พึ่งทางใจอีกด้วย
นอกจากนี้การสักยังเป็นเหมือนที่ระลึกในการเดินทางไปยังดินแดนที่เต็มไปด้วยเรื่องราวและมนต์ขลัง ถึงแม้ว่าแต่ละคนจะมีความชอบและความนิยมที่ต่างกัน แต่การสักกลับเป็นที่นิยมสำหรับชาวต่างชาติที่ชื่นชอบในลายสักเป็นอย่างยิ่ง
เชียงใหม่หนึ่งในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่าและตำนานมากมายเกี่ยวกับลายสัก จึงเป็นเสมือนหมดหมายของนักเดินทางที่ชื่นชอบในลายสัก และรูปแบบการสักแบบดั้งเดิม
มีนักเดินทางจำนวนไม่น้อยที่มาท่องเที่ยวอย่างจังหวัดเชียงใหม่ เราเลือกที่จะสักยันต์ล้านนาเพื่อเป็นที่ระลึก นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าลายสักจะช่วยปกป้องพวกเขาเหล่านั้นจากเรื่องร้ายๆ แนะนำพาเรื่องดีมาให้
แน่นอนว่านอกจากความเชื่อความศรัทธาต่อลาย และครูบาอาจารย์ที่สักแล้ว ความหมายของลายสักก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจสักอีกด้วย
สำนักสักยันต์สักยันต์ล้านนา พาเพื่อนนักเดินทางของเราไปสักยันต์ตามรูปแบบความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา
การสักที่ดูเหมือนจะเป็นปัญหาในสังคมไทย ที่ไม่สอดรับกับค่านิยมหลักของสังคม แต่กลับเป็นที่นิยมในกลุ่มวัฒนธรรมย่อย ที่ชื่นชอบในลายสักที่มองการสักเป็นศิลปะบนเรือนร่าง และอีกกลุ่มคือกลุ่มที่เชื่อในพลังเหนือธรรมชาติ ซึ่งความเชื่อดังกล่าวยังผูกโยงกับรูปแบบการใช้ชีวิตในคำสอนทางศาสนาอีกด้วย
แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งกับทำให้เราค้นพบว่าการสักเป็นเสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ผู้สักยันต์ หรือสักลายล้านนาทำความดี ละเว้นจากการปฏิบัติความชั่ว
แต่การสักนั้นไม่ได้สักให้ใครก็ได้ ผู้ที่สักต้องยึดถือกฎและข้อห้ามมากมาย เพื่อให้พลังเหนือธรรมชาติอยู่กับผู้ที่สักยันต์ การสักจึงเป็นเหมือนกุศโลบายที่วางไว้ให้ผู้ที่สักยึดมั่นในความดี เคารพครูบา อาจารย์ พ่อแม่
การสักแบบดั้งเดิมคือสักกับเข็มจึงได้รับความนิยมในกลุ่มชาวต่างชาติเป็นอย่างมากเพราะเป็นรูปแบบการสักดั้งเดิมที่สืบทอดมา นอกจากนี้หลังการสักยังมีการถ่ายทอดคำสอนหลักการทางศาสนา ซึ่งเป็นหลักสากล ให้แก่ผู้ที่สักยันต์อีกด้วย
อักขระที่ปรากฏในลวดลายสักนั้นเกิดจากการฝึกฝนและศึกษาในพระคัมภีร์ ซึ่งเป็นการย่นย่อบทสวดมาเป็นอักขระดังนั้นผู้ที่สัตว์จึงจำเป็นต้องตั้งจิตและภาวนาจิตตามบทสวดนั้นๆ ในทุกอักขระที่สัก
การสักจึงเรียกได้ว่าเป็นการสืบทอดทางศาสนาอย่างหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สรรเสริญ แต่การสักก็เป็นการเผยแพร่คำสอนของศาสนาทางหนึ่ง ที่สอนให้ผู้สักมีสติ ระลึกถึงคุณบิดามารดา ครูบารอาจารย์ และไม่ปฏิบัติตนขัดกับกฏหมายและศีลธรรมของสังคมนั้นๆ ซึ่งคำสอนของแต่ละสำนักจะต่างกัน และมีการปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอีกด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.sakyantchiangmai.com/sak-yant-chiang-mai/
โทร 095-690-8886 (Monday- Saturday 8.50 am – 5.30 pm) / Monday- Saturday 8.50 am – 5.30 pm